ประวัติพวงหรีดในประเทศไทย

ประวัติพวงหรีดในประเทศไทย

“ในปัจจุบันคนไทยเราคุ้นเคยกับการนำพวงหรีดมาใช้เป็นสื่อการแสดงความเคารพในงานพิธีอวมงคลต่างๆ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าจริงๆแล้วพวงหรีดนั้นมีต้นกำเนิดมาจากที่ใด ใครเป็นผู้ริเริ่มการใช้พวงหรีด แล้วความหมายของพวงหรีดแต่เดิมนั้นมีความหมายว่าอย่างไร ทางเรา พีโอนี ฟิวเนอรัล ขอนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับพวงหรีด ประวัติความเป็นมา ความหมาย และการเผยแพร่วัฒนธรรมการใช้พวงหรีดที่เข้ามาสู่ประเทศไทยให้แก่คุณผู้อ่านครับ”

สำหรับประวัติพวงหรีดในประเทศไทยนั้น คนไทยคุ้นชินกับสิ่งของที่เรียกว่า “หรีด” ว่าใช้เป็นสิ่งของชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงความเคารพต่อผู้เสียชีวิตในงานพิธีศพ ซึ่งเราสามารถพบพวงหรีดได้ทั่วไปในงานพิธีศพ สอดคล้องกับที่ทางราชบัณฑิตยสถานของประเทศไทยให้ความหมายของคำว่า “พวงหรีด” ว่า คือ ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี สำหรับใช้เคารพศพ, หรีด ก็สามารถเรียกได้.” แต่ในอีกนัยหนึ่ง พวงหรีดในวัฒนธรรมตะวันตก (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมพวงหรีด) ยังได้ใช้เป็นสิ่งแสดงความยินดีและการเฉลิมฉลองอีกด้วย

ว่ากันว่าพวงหรีดมีต้นกำเนิดตั้งแต่สมัยอารยธรรมอีทรัสคันในแถบทวีปยุโรป จากการที่มีการค้นพบมงกุฎทองคำของอารยธรรมอีทครัส เมื่อเวลาออกรบเพื่อเป็นเกียรติยศโดยแกะเป็นลายใบไม้และดอกไม้ อายุราว 400 ปีก่อนคริสตกาล 

มงกุฎทองจากอารยธรรมอีทครัส

ขอบคุณรูปภาพจาก https://museumofclassicalantiquities.tumblr.com/post/109781062937/last-of-the-romans-etruscan-antiquities-in-the

อารยธรรมอีทครัส

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.historytoday.com/tj-cornell/etruscan-life-and-afterlife

ในยุคโรมันโบราณมีการใช้หรีดมาประดับศีรษะ โดยเรียกว่า ลอเรลหรีธ (Laurel Wreath) โดยใช้ใบไม้มาสานกัน ต่อมาคริสเตียนในประมาณยุคศตวรรษที่ 16-19 ได้นำกระดาษและริบบิ้นมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้และใบไม้รูปพวงหรีดเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสต์เจ้า จากนั้นจึงได้เปลี่ยนมาใช้ดอกไม้สดแทน เพราะมีความสวยสดงดงามยิ่งกว่าการจัดด้วยดอกไม้แห้ง แต่มีขนาดที่เล็กกว่าเนื่องจำดป็นต้องนำไปแขวนไว้ที่โบสถ์

ลอเรลหรีธ (Laurel Wreath)

ต่อมาในภายหลังยุควิคตอเรียน ความหมายของดอกไม้ชนิดต่างๆที่นำมาใช้จัดพวงหรีดมีความหลากหลายและกว้างขวางมากยิ่งขึ้นตามกาลเวลา พวงหรีดดอกไม้จึงกลายเป็นสื่อแทนความอาลัยให้กับผู้ที่ตายด้วยเช่นเดียวกัน พวงหรีดในอารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายอย่างมากในยุคล่าอาณานิคม หรือในยุคสมัยของรัชกาลที่ 5 ของประเทศเรา ซึ่งมีการรับอารยธรรมจากตะวันตกหลากหลายด้านเข้ามาสู่ประเทศไทย โดยปรากฏเป็นหลักฐานภาพถ่ายที่มีการนำดอกไม้มากมายหลากหลายชนิดมาประดับตกแต่งเป็นพวงดอกไม้ครั้งแรกในพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 ในพ.ศ. 2447 ด้วยความที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพวงหรีดจึงส่งผลทำให้มีการคาดการณ์ได้ว่าความเป็นมาของพวงหรีดนั้นได้ถูกเริ่มนำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยนั้น โดยใช้ความหมายสื่อแทนความโศกเศร้านั่นเอง

ประวัติพวงหรีดในประเทศไทย

พิธีศพพระราชทานของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา

อิทธิพลจากตะวันตกสู่ประวัติพวงหรีดในประเทศไทย

คำว่า “พวงหรีด” เป็นการเรียกทับศัพท์จากภาษาอังกฤษคือคำว่า “Wreath” ที่แปลว่าพวงดอกไม้ ในสมัยกรีกโบราณก็มีการทำ “หรีด” จากใบมะกอก ใบฝรั่ง หรือปาล์ม เป็นของรางวัลสำหรับนักกีฬาที่ได้รับชัยชนะในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกหรือเป็นของรางวัลให้แก่นักกวี นอกจากนี้คู่รักหนุ่มสาวในสมัยกรีกโบราณมักแขวน “หรีด” ไว้หน้าประตูเพื่อเป็นสัญญาณแห่งความรักนอกจากนี้ หรีดยังแสดงถึงการได้รับชัยชนะของนักรบกรีกโบราณอีกด้วย

ของรางวัลสำหรับนักกีฬาโอลิมปิก

ขอบคุณรูปภาพจาก http://londinoupolis.blogspot.com/2016/04/olive-wreath-and-olympic-games.html

พวงหรีดในปัจจุบันคือดอกไม้ใบไม้ที่นำมาประดัยตกแต่ง จัดวางเรียงร้อยตามโครงรูปวงกลมหรือวงรี เพื่อวัตถุประสงค์นานับประการ ในวัฒนธรรมของชาวตะวันตก ชาวบ้านหรือชาวพื้นเมืองจะใช้พวงหรีดทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล งานมงคลงานมงคลเช่นคริสต์มาส ซึ่งชาวตะวันตกจะแขวนพวงหรีดประดับบ้านเรือน หรือต้นคริสต์มาส โดยสื่อความหมายถึงความเชื่อในศาสนาคริสต์ว่า วงโค้งหรือวงกลมของหรีดหมายถึงความสมบูรณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และพระเจ้าที่ทรงเป็นนิรันดร์ เนื่องจากรูปร่างของพวงหรีดไม่มีจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด ส่วนดอกไม้ ใบไม้ และของตกแต่ง เช่น ถั่ว ลูกสน หมายถึง ความยั่งยืนของชีวิต และเป็นสัญลักษณ์การฟื้นคืนชีวิต

พวงหรีดในเทศกาลคริสต์มาส

พวงหรีดในประเทศไทย

สำหรับพวงหรีดในงานอวมงคลในวัฒนธรรมตะวันตกก็มีลักษณะเช่นเดียวกับวัฒนธรรมไทย คือใช้เป็นสิ่งแสดงความเคารพผู้เสียชีวิต เป็นการไว้อาลัย และแสดงความโศกเศร้า เดิมทีนั้นในวัฒนธรรมตะวันตกจะใช้พวงหรีดแห้งที่ตัดแต่งรูปดอกไม้ใบไม้จากกระดาษและประดับด้วยริบบิ้น ก่อนจะพัฒนาเป็นพวงหรีดดอกไม้สดในภายหลัง

รัชกาลที่ 9 ทรงวางพวงมาลาหน้าหลุมศพทหารไร้ญาติที่กรุงปารีส 11 ตุลาคม ค.ศ. 1960 ในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ (Photo by STF / AFP)

เหตุที่พวงหรีดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมไทย เฉพาะแต่งานอวมงคลเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เชี่ยวชาญ คุณรุจิราภา งามสระคู อธิบายเอาไว้ว่า “เมื่อรับพวงหรีดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียม คนไทยมิได้ใช้ในสองวาระเช่นชาวตะวันตก แต่นำมาใช้เฉพาะในวาระเดียวคืองานอวมงคลเพื่อแสดงความไว้อาลัยและหรือนำไปสักการะรูปปั้นผู้ล่วงลับ คงเนื่องจากคนไทยนับถือศาสนาพุทธย่อมไม่มีเทศกาลเฉลิมฉลองตามแบบแผนของศาสนาคริสต์ จึงเลือกใช้ในพิธีกรรมที่ไม่ขัดกับคติความเชื่อทางศาสนา”

พวงหรีดในประเทศไทย

พวงหรีดดอกไม้สดในประเทศไทย

พวงหรีดเก่าสุดที่พบว่ามีคำไว้อาลัยติดมาด้วยคือพวกหรีดพระราชทานของรัชกาลที่ 5 พระราชทานในคราวงานทำบุญครบ 1 ปี การถึงแก่อสัญกรรมของเจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) โดยมีข้อความว่า “ทรงรฤกถึงความจงรักภักดีและที่ได้เคยอยู่ด้วยกันเป็นนิจช้านาน ให้สมุหราชองครักษ์อัญเชิญมาวางที่โกศโดยทรงพระกรุณาไม่จืดจาง”

เมื่อวัฒนธรรมพวงหรีดเริ่มแพร่หลายสู่งานศพของสามัญชน ซึ่งมีพิธีศพไม่ต่อเนื่องยาวนานเหมือนพิธีศพของชนชั้นสูง ประกอบกับพันธุ์ดอกไม้เริ่มหลากหลายและมีปลูกขายกันมากขึ้น ดังนั้น จึงหันมาใช้พวงหรีดดอกไม้สดกันมากขึ้น เนื่องจากพวงหรีดดอกไม้สดมีความสวยงามและให้ความสดชื่นมากกว่า จึงเข้ามาแทนที่พวงหรีดดอกไม้แห้ง และได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆกระทั่งเมื่อประมาณ 40 ปีให้หลังนี้เอง ที่รูปแบบพวงหรีดได้แปรเปลี่ยนไปอีกครั้ง เนื่องจากถูกมองว่า การให้พวงหรีดนั้นสิ้นเปลืองและไม่มีประโยชน์ จึงมีการทำพวงหรีดจากของเหลือใช้หรือเศษวัสดุบ้าง หรือนำสิ่งของที่จะเป็นประโยชน์ในภายหลังมาทำเป็นพวงหรีดบ้าง เช่น พัดลมและผ้าห่ม

พวงหรีดพัดลม

พวงหรีดจักรยาน

จะเห็นได้ว่า คนไทยเรารับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้กับวัฒนธรรมไทยได้อย่างแนบเนียน นำมาแทนที่วิถีแบบดั้งเดิมจนเกิดวิถีปฏิบัติแบบใหม่ ซึ่งกลายเป็นธรรมเนียมไปเสียแล้วว่าเมื่อมีงานศพก็ต้องมอบพวงหรีดเพื่อแสดงความอาลัย และแม้ว่าจะล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมพวงหรีดก็ยังปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเสมอ